วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

แยกองค์ประกอบกฎหมายอาญา : ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 วรรคแรก บัญญัติว่า
"ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษ..."

องค์ประกอบ
1.ผู้ใด
2.หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย
3.เจตนา

สรุปเข้ม สอบติดนิติศาสตร์ : สัญญาเช่าซื้อ สัญญาแรงงาน และสัญญาจ้างทำของ

สัญญาเช่าซื้อ
1. ความหมาย = สัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น/ว่าจะให้
ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้
2. แบบ = หนังสือ à ฝ่าฝืนตกเป็นโมฆะ

สัญญาจ้างแรงงาน
1. ความหมาย = สัญญาที่ลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานแก่ลูกจ้าง
2. แบบ = ไม่มีแบบ


สัญญาจ้างทำของ
1. ความหมาย = สัญญาที่ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการงานที่ทำนั้น
2. แบบ = ไม่มีแบบ

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สุภาษิต คำคม และวาทะอมตะ ทางกฎหมาย (update เรื่อยๆ)

"การสร้างนักกฎหมายมิใช่เพียงสอนคนให้สอบกฎหมายได้
แต่จะต้องสอนให้ผู้ที่เข้ามาศึกษามีชีวิตจิตใจเป็น

นักกฎหมาย เพื่อรับใช้ประชาชนและประเทศชาติ
โดยสุจริตตามคติของผู้ประกอบวิชาชีพ"
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์

อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
อดีตองคมนตรี
อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

"ถ้าปราศจากความบริสุทธิ์ยุติธรรมแล้ว ความรู้ความสามารถอันเลอเลิศก็หาประโยชน์อันใด มิได้แก่ประชาชน"
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
อดีตนายกรัฐมนตรี

อดีตประธานศาลฎีกา
อดีตประธานองคมนตรี
อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์
อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์


"การศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัย เป็นการศึกษาให้
รู้แจ้งเห็นจริง ประกอบด้วยเหตุด้วยผล
ซึ่งต้องอาศัยทฤษฎีเป็นรากฐาน
ฉะนั้น จึงเป็นความคิดที่ผิดที่คิดว่าทฤษฎีไม่เป็นของจำเป็น
เรียนไปก็เสียเวลา ควรศึกษาทางปฏิบัติดีกว่า
การศึกษาในทางปฏิบัติโดยไม่รู้ถึงทฤษฎี ย่อมเป็นการศึกษาที่มีอันตราย
พราะเป็นการศึกษาที่ไม่มีหลักสำหรับคิด"
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย
อดีตตุลาการรัฐธรรมนูญ
อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
อดีตอาจารย์ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์


"การศึกษากฎหมายต้องเป็นการศึกษาอย่างมีทฤษฎี
จึงจะสามารถให้เหตุผลทางกฎหมายได้ดี
และความสามารถในการให้เหตุผลทางกฎหมาย
จะเกิดดีขึ้นได้ ก็จากการฟังมากและอ่านมาก
แต่ต้องเป็นการฟังและการอ่านโดยความคิดอย่างเข้าใจ
ไม่ใช่การฟังและการอ่านให้จำได้โดยไม่เข้าใจ"
ศาสตราจารย์คณิต ณ นคร
อดีตอัยการสูงสุด
ศาสตราจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์และ
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณบดี คณะนิติศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ (ปัจจุบัน)

"ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย (Ubi societas ibi jus) "
สุภาษิตกฎหมายโรมัน

"เอ็งกินเหล้า เมายา ไม่ว่าหรอก
แต่อย่าออก นอกทางไป ให้เสียผล
จงอย่ากิน สินบาด คาดสินบน
เรามันชน ชั้นปัญญา ตุลาการ"
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
หรือพระนามเดิม พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
พระบิดาของนักกฎหมายไทย
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม"

"มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ
บำบัดความกระหายของราษฎร
ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิ
และโอกาสที่เขาควรมีควรได้
ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา"
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์
หรือหลวงประดิษฐ์มนูญธรรม
รัฐบุรุษอาวุโส
อดีตนายกรัฐมนตรี
อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8
ผู้ประศาสตร์การของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง หรือ ม.ธ.ก.
บุคคลสำคัญของโลก ปี ค.ศ. 2000-2001
(ตามคำยกย่องของยูเนสโก)

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สรุปเข้ม สอบติดนิติศาสตร์ : สัญญาเช่าทรัพย์

สัญญาเช่าทรัพย์

1. ความหมาย = สัญญาซึ่งผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้/ได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่ง
ชั่วระยะเวลาอันจำกัดและผู้เช่าตกลงให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น

2. การฟ้องร้องบังคับคดี
2.1 ระยะเวลาเช่า ตั้งแต่ 3 ปีลงมา = หลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด
2.2 ระยะเวลาเช่า เกินกว่า 3 ปีขึ้นไป = หนังสือและจดทะเบียนต่อพนง.จนท. มิฉะนั้นฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง 3 ปี (แต่จะฟ้องร้องบังคับคดี 3 ปีได้ต้องเป็นไปตามข้อ 2.1 ด้วย)

3. การระงับของสัญญา
3.1 กฎหมาย
ก. สิ้นสุดการเช่าหรือระยะเวลาเช่าตามสัญญา
ข. กรณีไม่มีกำหนดเวลาเช่า = คู่สัญญาอาจบอกเลิกสัญญาเช่าได้ เมื่อสุดระยะเวลาอันกำหนดให้ชำระค่าเช่าได้ทุกระยะ แต่ต้องบอกกล่าวให้อีกฝ่ายรู้ก่อนกำหนดเวลาเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย แต่ไม่ต้องเกิน 2 เดือน
ค. ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่า :
(1) ไม่ชำระค่าเช่า à ถ้าชำระค่าเช่าตั้งแต่รายเดือนเป็นต้นไป ต้องให้เวลาชำระอย่างน้อย 15 วัน
(2) ใช้ทรัพย์นอกวัตถุประสงค์ à ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ทำแล้วไม่ทำ จึงเลิกสัญญาได้
(3) ไม่สงวนรักษาทรัพย์ ไม่บำรุงรักษา ไม่ซ่อมแซมเล็กน้อย à ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ทำแล้วไม่ทำ จึงเลิกสัญญาได้
(4) ให้เช่าช่วงโดยมิชอบ à บอกเลิกสัญญาได้ทันที
ง. ทรัพย์ที่เช่าหายไปหมด
จ. ผู้เช่าตาย (แต่ผู้ให้เช่าตายสัญญาเช่าไม่ระงับ)
3.2 ผิดสัญญา à ฝ่ายที่ไม่ผิดสัญญากำหนดเวลาตามสมควรให้ฝ่ายที่ผิดสัญญากระทำการตาม
สัญญาแล้ว แต่ฝ่ายที่ผิดสัญญาไม่ทำ ฝ่ายที่ไม่ผิดสัญญาสามารถบอกเลิกสัญญาได้
3.3 คู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากัน

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สรุปเข้ม สอบติดนิติศาสตร์ : สัญญาแลกเปลี่ยนและสัญญาให้

สัญญาแลกเปลี่ยน
คือ สัญญาที่คู่สัญญาต่างโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่กัน à นำหลักในเรื่องสัญญา
ซื้อขายมาใช้บังคับแก่สัญญานี้โดยอนุโลม

สัญญาให้
1. ความหมาย = สัญญาที่ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้ (โดยเสน่หา) แก่ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น

2. ประเภท = ก. สิ่งของ ข. ปลดหนี้/ชำระหนี้แทน

3. ความสมบูรณ์ของสัญญา
ก. สิ่งของ ; (1) อสังฯ + สังหาฯ พิเศษ = ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนง.จนท.
(2) สังหาฯ ทั่วไป = ส่งมอบ
ข. ปลดหนี้/ชำระหนี้แทน = เมื่อปลดหนี้/ชำระหนี้แทนแล้ว

4. การถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณ = ผู้ให้สามารถถอนคืนทรัพย์สินที่ให้ไปได้ เมื่อผู้รับกระทำการเนรคุณ :
1). ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรง
2). ทำให้เสียชื่อเสียง/หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
3). บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับสามารถจะให้ได้

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สรุปเข้ม สอบติดนิติศาสตร์ : สัญญาซื้อขาย

1. สัญญาซื้อขาย

1.1 ความหมาย = สัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย

1.2 แบบของสัญญา
1.2.1 อสังหาริมทรัพย์ = ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ; ฝ่าฝืน à โมฆะ
1.2.2 สังหาริมทรัพย์
ก. สังหาริมทรัพย์ทั่วไป/ธรรมดา = ไม่มีแบบ
ข. สังหาริมทรัพย์พิเศษ ได้แก่ เรือระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป, แพ, สัตว์พาหนะ = ทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ; ฝ่าฝืน à โมฆะ

1.3 นิติกรรมเกี่ยวเนื่อง ได้แก่
ก. สัญญาจะซื้อจะขาย/คำมั่นในการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์+สังหาริมทรัพย์พิเศษ
ข. สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ราคาตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป
นิติกรรมเกี่ยวเนื่องจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ต้องกระทำการดังต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
1). มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิด
2). วางประจำ/มัดจำ
3). ชำระหนี้บางส่วน

1.4 การโอนกรรมสิทธิ์
1.4.1 หลัก = โอนเมื่อทำสัญญาซื้อขาย
1.4.2 ข้อยกเว้น
ก. สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข/เงื่อนเวลา = โอนเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข/เงื่อนเวลานั้นๆ
ข. สัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่มิได้กำหนดแน่นอน
(1) กำหนดจำนวนและราคาแล้ว แต่ยังไม่แยกออกมา (ยังไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง) = โอนเมื่อแยกออกมาแล้ว
(2) รู้ว่าเป็นทรัพย์ใดแล้ว (เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว) แต่ยังไม่รู้ราคา (ต้องนับ ชั่ง ตวง วัด หรือทำการอื่นๆ เสียก่อน) = โอนเมื่อทำการใดๆ ให้รู้ราคาแล้ว

1.5 หน้าที่ผู้ซื้อ = ชำระราคา/จ่ายเงิน

1.6 หน้าที่ผู้ขาย
1.6.1 ส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขาย
1.6.2 ทรัพย์ชำรุดบกพร่อง
ก. หลัก = เมื่อทรัพย์ชำรุดบกพร่อง อันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาเสื่อมความเหมาะสม แก่ประโยชน์อันมุ่งหมายโดยสัญญาซื้อขาย à ผู้ขายต้องรับผิด
ข. ข้อยกเว้น = ผู้ซื้อรู้อยู่แล้ว/ควรรู้ หรือเห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบและรับไว้โดยไม่อิดเอื้อน หรือซื้อทรัพย์โดยวิธีการขายทอดตลาด

1.7 รอนสิทธิ = บุคคลใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันที่จะครองทรัพย์สินโดยปรกติสุข เพราะบุคคลนั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายหรือเพราะความผิดของผู้ขาย
1.7.1 หลัก = ผู้ขายต้องรับผิด
1.7.2 ข้อยกเว้น = ผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วในเวลาที่ซื้อขาย

1.8 การซื้อขายทรัพย์เฉพาะอย่าง
1.8.1 ขายฝาก = สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้
1.8.2 ขายตามตัวอย่าง à ส่งมอบให้ตรงตามตัวอย่าง
1.8.3 ขายตามคำพรรณนา à ส่งมอบให้ตรงตามคำพรรณนา
1.8.4 ขายเผื่อชอบ = สัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขว่าให้ผู้ซื้อได้มีโอกาสตรวจดูทรัพย์สินก่อนรับซื้อ
1.8.5 ขายทอดตลาด à ย่อมบริบูรณ์ เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้ หรือด้วยกิริยาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งตามประเพณีในการขายทอดตลาด