วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สุภาษิต คำคม และวาทะอมตะ ทางกฎหมาย (update เรื่อยๆ)

"การสร้างนักกฎหมายมิใช่เพียงสอนคนให้สอบกฎหมายได้
แต่จะต้องสอนให้ผู้ที่เข้ามาศึกษามีชีวิตจิตใจเป็น

นักกฎหมาย เพื่อรับใช้ประชาชนและประเทศชาติ
โดยสุจริตตามคติของผู้ประกอบวิชาชีพ"
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์

อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา
อดีตองคมนตรี
อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

"ถ้าปราศจากความบริสุทธิ์ยุติธรรมแล้ว ความรู้ความสามารถอันเลอเลิศก็หาประโยชน์อันใด มิได้แก่ประชาชน"
ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
อดีตนายกรัฐมนตรี

อดีตประธานศาลฎีกา
อดีตประธานองคมนตรี
อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์
อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์


"การศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัย เป็นการศึกษาให้
รู้แจ้งเห็นจริง ประกอบด้วยเหตุด้วยผล
ซึ่งต้องอาศัยทฤษฎีเป็นรากฐาน
ฉะนั้น จึงเป็นความคิดที่ผิดที่คิดว่าทฤษฎีไม่เป็นของจำเป็น
เรียนไปก็เสียเวลา ควรศึกษาทางปฏิบัติดีกว่า
การศึกษาในทางปฏิบัติโดยไม่รู้ถึงทฤษฎี ย่อมเป็นการศึกษาที่มีอันตราย
พราะเป็นการศึกษาที่ไม่มีหลักสำหรับคิด"
ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย
อดีตตุลาการรัฐธรรมนูญ
อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
อดีตอาจารย์ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์


"การศึกษากฎหมายต้องเป็นการศึกษาอย่างมีทฤษฎี
จึงจะสามารถให้เหตุผลทางกฎหมายได้ดี
และความสามารถในการให้เหตุผลทางกฎหมาย
จะเกิดดีขึ้นได้ ก็จากการฟังมากและอ่านมาก
แต่ต้องเป็นการฟังและการอ่านโดยความคิดอย่างเข้าใจ
ไม่ใช่การฟังและการอ่านให้จำได้โดยไม่เข้าใจ"
ศาสตราจารย์คณิต ณ นคร
อดีตอัยการสูงสุด
ศาสตราจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์และ
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณบดี คณะนิติศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ (ปัจจุบัน)

"ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย (Ubi societas ibi jus) "
สุภาษิตกฎหมายโรมัน

"เอ็งกินเหล้า เมายา ไม่ว่าหรอก
แต่อย่าออก นอกทางไป ให้เสียผล
จงอย่ากิน สินบาด คาดสินบน
เรามันชน ชั้นปัญญา ตุลาการ"
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
หรือพระนามเดิม พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
พระบิดาของนักกฎหมายไทย
ผู้ก่อตั้งโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม"

"มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำ
บำบัดความกระหายของราษฎร
ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิ
และโอกาสที่เขาควรมีควรได้
ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา"
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์
หรือหลวงประดิษฐ์มนูญธรรม
รัฐบุรุษอาวุโส
อดีตนายกรัฐมนตรี
อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8
ผู้ประศาสตร์การของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง หรือ ม.ธ.ก.
บุคคลสำคัญของโลก ปี ค.ศ. 2000-2001
(ตามคำยกย่องของยูเนสโก)

ไม่มีความคิดเห็น: